วิธีป้องกัน ถังน้ำยาแอร์ระเบิด

ถังน้ำยาแอร์ระเบิด
วิธีป้องกันถังน้ำยาแอร์ระเบิด ป้องกันอันตรายจากการใช้งาน

ถังน้ำยาแอร์ระเบิด

การที่ถังแอร์ระเบิดนั้นเกิดจาการขยายตัวอย่างรวดเร็วของแรงดันภายในจนเกิดการระเบิดขึ้น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้แรงดันเพิ่มขึ้นนั้นเกิดจากอุณหภูมิภายนอกที่สูงขึ้น

ประเภทถังน้ำยาแอร์และปริมาณน้ำยาแอร์

ประเภทของน้ำยาแอร์ที่แตกต่างกัน จะมีแรงดันของน้ำยาแอร์ไม่เท่ากัน ความหนาของถังน้ำยาแอร์จึงไม่เท่ากันด้วย และปริมาณของน้ำยาแอร์แต่ละชนิดจะสามารถบรรจุได้แตกต่างกันทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน เช่น
1. ถังน้ำยาแอร์ที่หนา 1 มม. และ มีน้ำหนักถังเหล็กรวมวาล์วประมาณ 2.5 กก. (น้ำหนักถังเปล่า) สามารถบรรจุน้ำยาแอร์ได้ปริมาณสูงสุด (Max Load) 13.6 กก. จะใช้กับ R22,R134a
2. ถังน้ำยาแอร์ที่หนา 1.2 มม. และ มีน้ำหนักถังเหล็กรวมวาล์วประมาณ 3.0 กก. (น้ำหนักถังเปล่า) สามารถบรรจุน้ำยาแอร์ได้ปริมาณสูงสุด (Max Load) 10.9 หรือ 11.3 กก. จะใช้กับ R404A, R407C
3. ถังน้ำยาแอร์ที่หนา 1.5 มม. และ มีน้ำหนักถังเหล็กรวมวาล์วประมาณ 3.5 กก. (น้ำหนักถังเปล่า) สามารถบรรจุน้ำยาแอร์ได้ปริมาณสูงสุด (Max Load) 7 หรือ 11.3 กก. จะใช้กับ R32,R410A เป็นต้น

วิธีเติมน้ำยาแอร์

การเติมน้ำยาแอร์ที่ผสมสารทำความเย็น 2 ชนิดเข้าด้วยกัน ซึ่งแต่ละชนิดจะมีค่าแรงดันที่ไม่เท่ากัน เนื่องจากการเติมน้ำยาที่เป็นสารชนิดผสมจำเป็นต้องคว่ำถังลง เพื่อให้น้ำยาที่มีสถานะเป็นของเหลวไหลเข้าไปในระบบแอร์ด้วยอัตราส่วนที่เท่าๆ กัน ดังนั้น วิธีเติมน้ำยาแอร์ R32 , วิธี เติมน้ำยาแอร์ R407C , วิธี เติมน้ำยาแอร์ R410a จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบของสารทำความเย็นแต่ละชนิดก่อนทำการเติมเข้าระบบ หลักการเติมน้ำยาแอร์มีธีเติมที่ไม่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น  ดังนี้

1. ถอดฝาครอบคอมเพรสเซอร์แอร์เป็นออกก่อน
2. ถอดปลายสายล่างของเกจวัดความดันออกจากเครื่องปั๊มสุญญากาศและต่อเข้ากับวาล์วที่ท่อน้ำยา
3. เปิดวาล์วถังน้ำยาให้อยู่ในสถานะพร้อมใช้งาน โดยการคว้ำถังน้ำยาแอร์เพื่อให้ของเหลวไหลเข้าไปในตัวคอมเพรสเซอร์
4. รอจนกว่าเกจวัดน้ำยาจะทำงานให้ตรวจสอบแรงดันมาตรวัดสีน้ำเงิน (หน่วยแยกขนาดเล็กส่วนใหญ่จะทำงานระหว่าง 117 PSI และ 220 PSI แม้ว่าจะแตกต่างกันไป)
5. หมุนวาล์วสีน้ำเงินช้าๆ แล้วปล่อยสารทำความเย็นเข้าไป สังเกตดูเข็มวัดความดันทั้งทางด้านแรงดันสูงและทางด้านแรงดันต่ำให้ไดความดันตามเกณฑ์
6. ปิดวาล์วเมื่อความดันในระบบทั้งด้านความดันสูง และความดันต่ำได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดเอาไว้
7. ตรวจเช็คเพื่อหารอยรั่วที่อาจจะเกิดขึ้นกันระบบอีกครั้ง
8. ประกอบฝาครอบคอมเพรสเซอร์แอร์เข้าที่ให้เรียบร้อย

เติมน้ำยา R32 ต้อง คว่ำถัง ไหม

การเติมน้ำยา R32 ในรุ่นของแอร์สมัยก่อนจะไม่แนะนำให้คว่ำถึง เพราะของเหลวจะไหนเข้าสู่คอมเพรสเซอร์ทำให้เกิดความเสียหาย แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้มีตัวป้องกันของเหลวไหลเข้าคอมเพรสเซอร์ หรือที่เรียกว่า แอคคิวมูเลเตอร์ เพื่อสำหรับดักจับของเหลว และขอดีของการเติมแบบคว่ำถังยังสามารถช่วยให้เติมได้ไวขึ้น เติมน้ำยา R32 ต้อง ค ว่ํา ถัง ไหม

ถังน้ำยาแอร์ R22 เติมได้ไหม

R22 สามารถเติมน้ำยาได้ โดยถังน้ำยาแอร์ควรมีความที่หนา 1 มม. เพื่อรองรับแรงดันภายใน ซึ่งสารถบรรจุได้สูงสุด 13.6 กก. หากจำเป็นต้องใช้ถังน้ำยาแอร์เพื่อนำกลับมาเติมใหม่ ควรเลือกชนิดถังที่เหมาะสมกับการใช้งาน เนื่องจากถังแต่ละชนิดมีความหนาที่สามารถทดต่อแรงดันภายในที่มีของเหลวบรรจุอยู่แตกต่างกัน หากเลือกใช้ผิดรูปแบบอาจทำให้ถังนั้นเกิดการระเบิดได้

วิธีป้องกันถังน้ำยาแอร์ระเบิด

1. อย่าเอาถังน้ำยาแอร์แบบใช้แล้วทิ้ง (Disposable Cylinder หรือ ถัง One way ) ไป Refill เด็ดขาด
2. อย่าเอาถังน้ำยาแอร์ที่แม้สามารถ Refill ได้แต่ขึ้นสนิมไปเติมน้ำยาเด็ดขาด
3. อย่าเอาถังน้ำยาแอร์ต่างชนิดกัน ไปเติมน้ำยาแอร์ต่างชนิดเด็ดขาด เช่น เอาถัง R22 ไปเติม R32 เพราะน้ำยาต่างชนิดมีแรงดันไม่เหมือนกัน จึงใช้ความหนาของถังและปริมาณที่เติมลงถังไม่เท่ากัน
4. เวลาเติมน้ำยาแอร์ต้องใช้ตราชั่ง ชั่งน้ำยาแอร์ห้ามใช้การเดาหรือการประมาณเองเด็ดขาด เพราะน้ำยาแอร์มีอัตราการขยายตัวของมันและต้องมีพื้นที่ในถังไม่อัดแน่น
5. อย่าเก็บถังน้ำยาแอร์ในที่ที่ร้อนจัดเด็ดขาด เพราะอุณหภูมิจะสะสมและน้ำยาแอร์จะขยายตัวเรื่อยๆจะเกิดการระเบิดได้

ข้อแนะนำ

ในการซื้อน้ำยาแอร์ถังบรรจุสำเร็จรูปมาใช้งาน ชนิดใช้หมดแล้วทิ้งถัง (Disposable Cylinder หรือ ถัง One way ) นั้น เราควรเลือกซื้อจากโรงงานผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานสากล เพราะถังจะมีความปลอดภัยในการใช้งานสูง ถังจะอยู่ในสถานะที่สมบูรณ์ และต้องมีใบรับรองมาตรฐานความปลอดภัย MSDS ด้วย

สอบถามคลิ๊ก LINE : @ fillkool